บทความ

รูปภาพ
เมื่อพระพุทธเจ้าปะทะเกรียน ตอนที่ 4 (ตอนจบ) ต่อจากตอนที่แล้ว เมื่ออัมพัฏฐมาณพหยุดพฤติกรรมก้าวร้าวของตน พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมแก่มาณพอัมพัฏฐมาณพให้ลดทิฐิมานะของตนลง และเข้าใจถึงความรู้แจ้งและการประพฤติให้ถึงความรู้แจ้งนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นชนชั้นวรรณะไหน ตรงข้ามหากต้องการจะบรรลุถึงความรู้แจ้ง จะต้องวางเรื่องของชนชั้นวรรณะลงไปเสียก่อน ทรงแสดงธรรมทำลายทิฐิมานะในจิตใจของนายอัมพัฏฐะให้หมดสิ้นไป “อัมพัฏฐะ ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม เขาไม่อ้างชาติ ไม่อ้างตระกูล หรือไม่อ้างความถือตัวว่า ท่านคู่ควรกับเราหรือท่านไม่คู่ควรกับเรา แต่ในที่ที่มีอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรืออาวาหมงคลและวิวาหมงคล เขาจึงอ้างชาติ อ้างตระกูล หรืออ้างความถือตัวว่า ท่านคู่ควรกับเราหรือท่านไม่คู่ควรกับเรา”  “อัมพัฏฐะ ชนที่ยึดติดเพราะอ้างชาติ ยึดติดเพราะอ้างตระกูล ยึดติดเพราะอ้างความถือตัวหรือยึดติดอยู่กับอาวาหมงคลและวิวาหมงคล ชื่อว่ายังอยู่ห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม”   “อัมพัฏฐะ การทำให้แจ้งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมย่อมมีได้เพราะละการยึด...
รูปภาพ
เมื่อพระพุทธเจ้าปะทะเกรียน ตอนที่ 3 ต่อจากตอนที่แล้ว เมื่ออัมพัฎฐมาณพโดนย้อนกลับถึงต้นตระกูลของตน พวกมาณพที่เหลือต่างก็เข้ามาแก้ต่างกันพัลวัน จนพระพุทธเจ้าต้องตรัสปรามไว้ว่า “มาณพ ถ้าพวกเธอคิดว่า ‘อัมพัฏฐมาณพมีชาติตระกูลต่ำ ไม่ใช่ลูกผู้มีตระกูล ศึกษามาน้อย พูดไม่ไพเราะ โง่เขลา และไม่สามารถเจรจาโต้ตอบกับเราได้’ อัมพัฏฐมาณพจงหยุด พวกเธอจงเจรจาโต้ตอบกับเราแทน แต่หากพวกเธอคิดว่า ‘อัมพัฏฐมาณพมีชาติตระกูลดี เป็นลูกผู้มีตระกูล ศึกษามามาก พูดไพเราะ ฉลาด และสามารถเจรจาโต้ตอบกับท่านพระโคดมได้’ พวกเธอก็จงหยุด อัมพัฏฐมาณพก็จงเจรจาโต้ตอบกับเราต่อไป” พวกมาณพต่างเห็นว่าอัมพัฏฐมาณพมีชาติตระกูลดี เป็นลูกผู้มีตระกูล ศึกษามามาก พูดเพราะ ฉลาด และสามารถเจรจาโต้ตอบได้ จึงยอมเงียบลง ให้พระพุทธเจ้าได้สนทนากับอัมพัฏฐมาณพต่อ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะอัมพัฏฐมาณพว่า  “อัมพัฏฐะปัญหาอันชอบธรรมข้อนี้ย่อมมาถึงเธอ เธอแม้ไม่ต้องการก็จะต้องตอบ ถ้าไม่ตอบ ขืนพูดกลบเกลื่อน นิ่งเสียหรือจากไปเสีย ศีรษะของเธอจะแตกเป็น 7 เสี่ยง ณ ที่นี้แหละ”  “อัมพัฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เธอเค...
รูปภาพ
เมื่อพระพุทธเจ้าปะทะเกรียน ตอนที่ 2 ต่อจากตอนที่แล้ว อัมพัฏฐมาณพได้กล่าววาจาดูหมิ่นพระพุทธเจ้าถึงวงศ์ตระกูลของพระองค์ว่าเป็นตระกูลต่ำ เป็นตระกูลคนใช้ พระพุทธเจ้าทรงหวังจะเตือนสติของอัมพัฏฐมาณพให้รู้สึกตัว จึงตรัสว่า "อัมพัฏฐะ เธอมาที่นี่เพราะมีธุระก็ควรตระหนักถึงธุระนั้นไว้ให้ดี ท่านทั้งหลาย อัมพัฏฐมาณพนี้ไม่ได้รับการอบรมแต่สำคัญตนว่าได้รับการอบรมมาดี ไม่มีอะไรเลยนอกจากมารยาทของคนที่ไม่ได้รับการอบรม” ทันทีที่ถูกพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นคนไม่ได้รับการอบรม อัมพัฏฐมาณพก็โกรธเคืองไม่พอใจ เกิดความคิดชั่วต้องการจะด่าว่าพระพุทธเจ้าให้เสียหาย จึงได้ด่าเจ้าศากยะต่อหน้าพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม คนชาติศากยะดุร้าย หยาบช้า เป็นคนรับใช้ ไม่ยอมสักการะ เคารพ บูชาพวกพราหมณ์เลย การที่คนชาติศากยะทำเช่นนั้น เป็นการไม่เหมาะไม่ควรเลย” แม้จะถูกผู้น้อยทำเรื่องเสียมารยาทใส่ แม้จะถูกดูหมิ่นถึงวงศ์ตระกูล พระพุทธเจ้าก็ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกลาง ทรงตรัสถามเหตุผลที่มาณพโกรธเจ้าศากยะว่า "อัมพัฏฐะ พวกเจ้าศากยะได้ทำผิดอะไร ต่อเธอหรือ?” อัมพัฏฐมาณพเมื่อได้โอกาส ก็ทูลตอบประสบการณ์ที่ตนไป...
รูปภาพ
เมื่อพระพุทธเจ้าปะทะเกรียน ตอนที่ 1 หนึ่งในเรื่องไม่ดีที่ไม่ว่าใครต่างก็พบเจอในชีวิตก็คือ การถูกว่าร้ายโจมตีจากคนที่ไม่ชอบเรา ทำให้เราต้องอารมณ์เสีย และทำให้เราเสียภาพพจน์ต่อบุคคลอื่นด้วยผลจากการว่าร้ายของคนอื่น ถ้าเป็นคนที่ว่าร้ายเป็นคนมีเหตุผล ก็ยังพอจะหาสาเหตุพูดคุยกันเพื่อจบปัญหาได้ แต่บางรายก็ฉอดๆมาจ้องแต่โจมตีเราอย่างเดียวโดยไม่ฟังเหตุผลใดๆทั้งสิ้น อธิบายอย่างไรก็ไม่รับฟัง เพียงเพื่อระบายอารมณ์ใส่  เพื่อทำให้ตนเองรู้สึกเหนือกว่า โดยหารู้ไม่เลยว่า ยิ่งทำตัวเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนมองว่าตนเป็นคนมีปมด้อย ไม่อาจจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนได้ จึงหาทางออกด้วยการทำแย่ๆใส่ผู้อื่นเท่านั้น บุคคลประเภทนี้ถูกเรียกในปัจจุบันว่า "เกรียน" เป็นบุคคลที่เล่นสนุกด้วยการก่อกวนผู้อื่น โจมตีกลั่นแกล้งต่างๆนานาเพียงเพราะนึกสนุกเท่านั้น เป็นตัวสร้างมะเร็งทางอารมณ์ต่อผู้คนที่ได้พบเจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่มีโซเชียลแล้ว ทำให้เราได้เห็นเกรียนตามสื่อต่างๆได้ง่ายขึ้น ทราบหรือไม่ว่า เกรียนไม่ใช่เพิ่งมีในปัจจุบันเท่านั้น แต่มีตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล และครั้งหนึ่งแม้แต่พระพุทธ...
รูปภาพ
อธิบายคำแปลและความหมายธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 8 ( ตอนจบ) เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงการตรัสรู้อริยสัจของพระองค์จบลง ก็ได้บังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นดังนี้               ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ               เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น                   จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ               เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น                ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ                                เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึ...
รูปภาพ
อธิบายคำแปลและความหมายธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 7 ญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ จักษุ (เห็น) ญาณ (รู้) ปัญญา (รู้รอบ) วิชชา (แทงตลอด) และแสงสว่าง (ดับความมืดคือความไม่รู้ได้สิ้น ไร้ข้อสงสัยอีกต่อไป) รวมเรียกว่าญาณทัสสนะ เมื่อเกิดขึ้นในอริยสัจ 4 ทั้ง 3 รอบ ญาณทัสสนะของพระองค์จึงบริสุทธิ์ดีแล้ว กำจัดความมืดคืออวิชชาได้หมดสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายในบทธัมมจักฯนี้ว่า             ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ                           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร (ยถาภูตญาณทัสสนะ)   ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ 3 มีอาการ 12 อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว             เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา   ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ...